ทฤษฏีภาวะผู้นำ
ทฤษฏีภาวะผู้นำ ที่สำคัญ มี 3 ทฤษฏี คือ1.) ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำหรือทฤษฎีอุปนิสัย (Trait Theory)
หลัก บุคคลเป็นผู้นำเพราะ มีบุคลิกลักษณะ ความสามารถที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำ (รูปร่างหน้าตา สติปัญญา วิสัยทัศน์มีความสามารถเหนือคนอื่น ความประพฤติดี มนุษยสัมพันธ์ที่ดี )
โดยคุณลักษณะที่เด่นชัด คือ
- มีความรู้ความสามารถในการงาน
- เข้าร่วมกิจกรรมด้วยใจรัก
- ได้รับการยอมรับจากสมาชิก สมาชิกเต็มใจทำงานร่วม
หลักการ ผู้นำเกิดจากสถานการณ์บางอย่างผลักดันให้บุคคลต้องแสดงบทบาทผู้นำ หรือต้องพัฒนาลักษณะผู้นำขึ้นมา (ฮิตเลอร์ มุสโสลินี หรือ เหมาเจ๋อตุง) ทฤษฏีนี้ยอมรับความสัมพันธ์ของผู้นำและกลุ่ม ผู้นำต้องครองใจปวงชนผู้แวดล้อม
3. ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ (Interaction Theory)
หลักการ ความเป็นผู้นำเกิดจากปฏิสัมพันธ์ ความเป็นผู้นำ+สถานการณ์
(วิเคราะห์จากคุณสมบัติผู้นำ และ สถานการณ์ ) เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ความเป็นผู้นำก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ผู้นำจึงมีได้หลายคน ผลัดเปลี่ยนกันไป
ทฤษฎีอื่นๆ ในเรื่อง ภาวะผู้นำ โดย Terry สรุป ไว้ 4 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีสนับสนุน (supporting Theory) เป็นทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้นำเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงาน มีโอกาสร่วมวางแผนและตัดสินใจในพันธกิจขององค์การ (ผู้นำต้องยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้ร่วมงาน )
2. ทฤษฎีทางสังคมวิทยา(Sociological Theory) มีความเชื่อว่าผู้นำต้องแสดงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ร่วมงานโดยมุ่งจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
3. ทฤษฎีทางจิตวิทยา( Psychological Theory) มีความเชื่อว่าผู้นำต้องพัฒนาระบบสร้างแรงจูงใจ มีจิตวิทยาสูง ใช้เทคนิคกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกรับผิดชอบต่อองค์การ
4. ทฤษฎียึดถืออำนาจ (Autocratic Theory) มีความเชื่อในการใช้อำนาจ ของตนเองในการบริหาร สั่งการ บีบบังคับให้ปฏิบัติงาน โดยไม่ต้องการเหตุผลในการอธิบายความ
รูปแบบและประเภทของผู้นำ
รูปแบบ ของผู้นำ มี 2 รูปแบบ คือ- ผู้นำที่เน้นงานเป็นศูนย์กลาง (Tasked –Related Function)
- ผู้นำเน้นความสัมพันธ์กลุ่มเป็นศูนย์กลาง(Group-maintenance)
- ผู้บริหารมุ่งใช้อำนาจ(Exploitative authority)
- ผู้บริหารใช้อำนาจอย่างเมตตา
- ผู้บริหารแบบการปรึกษาหารือ
- ผู้บริหารเน้นความร่วมมือกับทุกฝ่าย
- ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย (Autocratic Leader) ลักษณะเผด็จการชอบสั่งการใช้อำนาจกดขี่ / ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง /การบังคับบัญชาสั่งการจากข้างบนลงล่าง/ผู้ช่วย คือผู้ใต้บังคับบัญชา
- ผู้นำแบบเสรี(Laissez-faire leader) ไม่ยึดกฏเกณฑ์ตายตัว ปรับเปลี่ยนได้ตามผู้ร่วมงานเสนอ /ปล่อยผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ไปเรื่อยๆ /ไม่มีความคิดสร้างสรรค์งานใหม่ / ไม่มีการประเมินผลงาน
- ผู้นำแบบประชาธิปไตย(Democratic leader) ยึดถือความคิดกลุ่มเหนือความคิดตนเอง /แบ่งงาน/มอบหมายงานเป็นระบบ/ให้คำแนะนำในการงาน/สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงาน โดยใช้กฎเกณฑ์สร้างสรรค์งาน
- ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-faire leader) ผู้นำจะปล่อยให้ผู้ร่วมงานตัดสินใจดำเนินการได้เอง ไม่ต้องรอการตัดสินใจจากผู้บังคับบัญชา
- ผู้นำแบบเกื้อกูล หรือ แบบใช้พระคุณ(Charismatic Leadership) มีพฤติกรรมอ่อนโยน เห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้หลักธรรม หลักมนุษยสัมพันธ์
- ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) เชื่อมั่นตนเอง ชอบสั่งการ ตัดสินใจตามอารมณ์ ผูกขาดการตัดสินใจที่ตัวคนเดียว
- ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic leader) ถือเอาความคิดของกลุ่มเป็นหลัก ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ปัจจุบันถือว่าเป็นแบบผู้นำที่ดีที่สุด
ผู้บริหาร เป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน องค์การ
ผู้นำ/ผู้บริหารที่ดี ต้องฝึกพฤติกรรมแห่งการเป็นผู้นำ 10 ประการ ดังนี้
- นักวางแผน (Planning)
- นักจัดระเบียบ (Organizing)
- นักประสานงาน( Coordinating)
- นักสื่อสาร (Communicating)
- นักมอบหมายงาน(Delegating)
- นักตัดสินใจ(Decision-Making)
- นักมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation)
- นักฝึกอบรม(Training)
- นักจัดกระบวนการกลุ่ม
- นักประเมินผลงาน
- ภูมิหลังและประสบการณ์ (Background and Experience) พื้นฐานครอบครัวและมวลประสบการณ์เดิมที่ผ่านมาในช่วงชีวิต
- สติปัญญาและคุณภาพสมอง (Intellectual and mental quality) มีทักษะทางภาษา การติดต่อสื่อสาร / ความสามารถด้านการมีเหตุผล /ความจำ/ความรอบรู้
- คุณลักษณะทางร่างกาย (Physical attributes) ผู้นำที่ร่างกายแข็งแรง จะมีจิตใจที่ดี
- บุคลิกภาพและความสนใจ( Personality and Interests) ความสนใจ กระตือรือร้นและความเต็มใจในการปฏิบัติงาน
- ความเชื่อมั่นในตัวเอง(Self-Confidence) ผู้นำต้องสร้างความเชื่อมั่น/มั่นใจในตัว
- คุณสมบัติของผู้นำ ผู้นำ ผู้บริหารที่ดี ต้องมี คุณลักษณะพื้นฐาน 10 ประการ คือ
- สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีไหวพริบดี
- มีความสามารถในการวิเคราะห์
- วิเคราะห์เหตุการณ์ ตัดสินใจดี
- มีความคิดริเริ่ม และเป็นผู้รอบรู้
- เป็นที่พึ่งแก่เพื่อนร่วมงาน และเชื่อถือไว้วางใจได้
- ตัดสินใจแน่นอน ไม่รวนเร
- รู้จักปรับตัว ละเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
- จิตใจมั่นคง ไม่เอาแต่อารมณ์ของตนเป็นใหญ่
- มีคุณลักษณะและความประพฤติส่วนตัวที่ดี
- มีคุณลักษณะของผู้นำ
- สำรวจตัวเอง พิจารณาข้อบกพร่อง เปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำที่ดี
- ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านบริหาร และ จิตวิทยาสังคม
- ฝึกอบรมในสถาบันปรับปรุงบุคลิกภาพ
- พัฒนาการสนทนาโต้ตอบ ฝึกการเป็นนักฟัง /นักพูด(ถ่ายทอด)ที่ดี
- ปรับปรังบุคลิกภาพ ภายในและภายนอก ของตนเอง
- ทบทวนท่าที ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นให้สุภาพนุ่มนวล เป็นปกตินิสัย
- ฝึกฝน สังเกตการณ์ กล้าตัดสินใจ
- ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีเหตุผล ในการทำงาน มีความสุขุมรอบคอบ
- มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สุขุมเยือกเย็น
- มีวิสัยทัศน์ กว้างไกล
- .สามารถบริหารความขัดแย้งได้ดี
- กล้าตัดสินใจ รวดเร็ว ถูกต้อง
- ติดต่อสื่อสารได้ดี
- รอบรู้ในงานที่รับผิดชอบ
- มีความขยันขันแข็ง มานะ อดทน
- เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์
- สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี
- วินิจฉัยปัญหา คาดการณ์เหตุการณ์ได้ดี
- มีมนุษยสัมพันธ์ ทักษะทางสังคม
- .ทำงานในสภาวะกดดัน ตึงเครียดไดดี
- มีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ
- วางแผนและประสานแผนได้ดี
- มีสัมพันธภาพที่ดีกับองค์กรอื่น
- รู้จักใช้ข้อมูล สารสนเทศให้เกิดประโยชน์
- มนุษยสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำ บุคคลในองค์กรมี 3 บทบาท คือ 1. มนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
- กำหนดนโยบาย เป้าหมายองค์กรให้ชัดเจน ชี้แจงผู้ใต้บังคับบัญชา
- กำหนดอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
- สั่งการให้มีความชัดเจน ไม่กำกวม
- มีความซื่อสัตย์ต่อคำสั่งที่สั่งออกไป ไม่กลับคำ ซัดทอดความผิดให้ลูกน้อง
- สอนงาน หรือ อธิบายงาน ให้ชัดเจน
- ติดต่อสื่อสารได้ชัดเจน และทั่วถึงกับลูกน้อง
- มีความยืดหยุ่นในการทำงานในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบ ตามสมควรแก่เหตุ
- ใช้วินัยควบคุมให้เสมอภาค ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง
- ตั้งใจทำงาน รับฟังคำชี้แจงของหัวหน้าด้วยความตั้งใจ
- ไม่นินทาผู้บังคับบัญชา (ลูกน้องไม่จงรักภักดี+ไม่เคารพนับถือ)
- มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนางาน โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
- หลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ
- สนับสนุนกิจการของผู้บังคับบัญชา เรียนนิสัยของผู้บังคับบัญชา
- ไม่ควรคล้อยตามผู้บังคับบัญชาทุกเรื่องโดยไม่มีเหตุผล
- ปกป้องไม่ให้ผู้บังคับบัญชาเสียหน้า หรืออับอาย 8.ไม่ก่อศัตรูกับเพื่อนร่วมงาน
- ไม่บ่นถึงความยากลำบากของการงานที่ได้รับมอบหมาย
- มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์และจริงใจต่อผู้บังคับบัญชา
- จริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน
- ให้ความช่วยเหลือเพื่อนในการงาน
- รับผิดชอบร่วมกัน ไม่ซัดทอดความผิดให้เพื่อน
- ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน
- ให้ความสนใจเพื่อนอย่างจริงใจ
- ยอมรับความเป็นตัวตนของเพื่อน
- เข้าใจความต้องการ และความรู้สึกของเพื่อน
- เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย
- สนใจในสิ่งที่เพื่อนพูด พูดในสิ่งที่เพื่อนสนใจ
- ยิ้มและมีอารมณ์ขันตามควร
- มีมารยาทที่ดี ต่อเพื่อนๆ
- ให้ความรัก ความเคารพความคิดเพื่อน
- มีคุณธรรมในการติดต่อเพื่อนๆ (เมตตา กรุณา เห็นใจ ให้ความช่วยเหลือ)
- .มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น