เที่ยวกาฬสินธ์กะเพื่อนรัก

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นโยบายพรรคเพื่อไทย ปี 54

นโยบายพรรคเพื่อไทย
  1. ดำเนินการสร้างระบบรถไฟฟ้าให้ครบทั้ง 10 สาย ในกทม. โดยเก็บค่าบริการ 20 บาท ตลอดสาย
  2. ทำรถไฟความเร็วสูง ไปเชียงใหม่, โคราช และระยอง
  3. ขยายแอร์พอร์ตลิงค์ ไปฉะเชิงเทรา ไปชลบุรี ไปพัทยา
  4. ทำรถไฟรางคู่เชื่อมชานเมืองทั้งหมด
  5. ทำเขื่อนลึกลงไปในทะล 10 กม. ความยาวประมาณ 30 กม. ตั้งแต่สมุทรสาคร ถึง ปากน้ำ โดยไม่ต้องกู้เงิน โดยทำเขื่อนแล้วถมทะเลลงไป ได้พื้นที่ใหม่ประมาณ 300 ตารางกม. ประมาณเกือบ 2 แสนไร่ โดยมีต้นทุนในการถมทรายตกประมาณตารางวาละ 12,000 บาท ทำให้เราได้เมืองใหม่ทั้งเมือง
  6. ปรับปรุงลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ รวมถึงดึงน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน เขื่อนฮัจจี จากพม่า เขื่อมน้ำงึม จากลาว หรือ สตึงนัม จากกัมพูชา โดยเราจะไม่ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน
  7. ทำสะพานเศรษฐกิจเชื่อม 2 ฝั่งระหว่างอันดามันกับอ่าวไทย โดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม และไม่ทับพื้นที่ของพี่น้องมุสลิมที่ใช้เป็นสุสาน
  8. จัดการยาเสพติดให้หมดภายใน 12 เดือน
  9. ขจัดความยากจนให้หมดใน 4 ปี
  10. พักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี
  11. ดำเนินการแจกแท็บเล็ต พีซี ให้เด็กไปโรงเรียนทุกคน ให้มีสัญญาณวายฟาย (Wi-Fi ) ฟรี ในที่สาธารณะ ให้ผู้ให้บริการติดตั้งให้รัฐบาลฟรี
  12. คืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถคันแรก อย่างเช่น รถราคา 5 แสนบาท จะได้คืนภาษี 1 แสนบาท ราคาก็จะเหลือประมาณ 4 แสนบาท
  13. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30 เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2555 และเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อบริษัทไปขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำของผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท
  14. แรงงานขั้นต่ำเริ่มที่ 300 บาทต่อวัน
  15. ทำให้สนามบินสุวรรณภูมิให้เป็นศูนย์กลาง(Hub)อย่างแท้จริง พร้อมกับทำเรื่องวีซ่าฟรีกับนักท่องเที่ยวจากประเทศตะวันออกกลาง
  16. สามจังหวัดชายแดนใต้ พรรคเพื่อไทยจะใช้นโยบายจับเข่าคุยกันและคุยกับมาเลเซียด้วย โดยใช้นโยบาย เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยจะพิจารณาการเป็นเขตปกครองพิเศษ เหมือนกทม. เพื่อให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสร้างความมั่นคงและความสุขของพี่น้องมุสลิม
  17. ผลิตข้าวได้เท่าไหร่ ก็ได้ราคาขั้นต่ำเท่าของรัฐบาล ข้าวเปลือกขาวเกวียน 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท
  18. จัด Training Center ให้อาชีวะ และ ใช้หลักการ ให้ทุนการศึกษาแบบ “เรียนก่อน ผ่อนทีหลัง”

ประเภทหนี้สาธารณะ


ประเภทของหนี้สาธารณะ

หนี้สาธารณะ
(Public Debt) ซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินจากรัฐบาลเมื่อรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย สามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ตามเกณฑ์ในการจำแนกประเภท เช่น การแบ่งตามแหล่งที่มาของเงินกู้ การแบ่งตามระยะเวลาของการกู้ การแบ่งตามลักษณะหนี้ การแบ่งตามวิธีการก่อหนี้ เป็นต้น

การแบ่งหนี้สาธารณะตามแหล่งที่มาของเงินกู้
มี 2 ประเภทคือ
หนี้ภายในประเทศ (Internal Debt) เป็นหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นโดยรัฐบาลกู้เงินมาจากแหล่งเงินต่างๆ ภายในประเทศ ได้แก่ ภาคเอกชน ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง และสถาบันการเงินอื่น เช่น บริษัทประกันภัย ธนาคารออมสิน เป็นต้น ซึ่งเงินที่กู้ยืมนั้นอาจเป็นเงินตราของประเทศหรือต่างประเทศก็ได้ ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้มีการกู้ยืมเงินจากแหล่งภายในประเทศ ได้แก่ การกู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น การกู้จากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น และประชาชนทั่วไป โดยการเสนอขายพันธบัตรและหลักทรัพย์รัฐบาลประเภทอื่นๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป็นต้น

หนี้ภายนอกประเทศ (External Debt) เป็นหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นโดยรัฐบาลกู้เงินมาจากแหล่งเงินกู้ภายนอกประเทศ ซึ่งอาจกู้จากบุคคล หรือรัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น การกู้ยืมจากธนาคารโลก เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างหนี้ภายในประเทศและหนี้ภายนอกประเทศ
เงินตราที่ใช้ชำระหนี้ การกู้เงินภายในประเทศเมื่อถึงกำหนดชำระเงินก็จะชำระด้วยเงินตราของประเทศนั้น เช่น รัฐบาลไทยชำระหนี้เป็นเงินบาทให้กับธนาคารพาณิชย์ของไทย เป็นต้น แต่การกู้เงินจากต่างประเทศ รัฐบาลต้องชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศตามสกุลเงินที่ได้ตกลงกันไว้

การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน
 การกู้เงินภายในประเทศ ปริมาณเงินของภาคเอกชนจะลดลงแต่ปริมาณเงินของภาครัฐบาลจะเพิ่มขึ้น และเมื่อรัฐบาลชำระคืนเงินให้ภาคเอกชน ปริมาณเงินจะไม่เปลี่ยนแปลง หากเป็นการกู้เงินจากต่างประเทศ ประเทศจะมีเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินหมุนเวียนจะเพิ่มสูงขึ้นและอำนาจซื้อของประเทศจะสูงขึ้น

การเสี่ยงต่ออัตราแลกเปลี่ยน
 การกู้เงินภายในประเทศ รัฐบาลไม่ต้องเสี่ยงต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เปลี่ยนแปลง เช่น รัฐบาลกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ 100 ล้านบาท เมื่อถึงกำหนดชำระคืน 100 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอกประเทศ รัฐบาลจะต้องคาดคะเนด้วยว่าในอนาคตอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจะเป็นอย่างไร เช่น สมมติรัฐบาลยืมเงินจากธนาคารโลก 50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยน 27 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ จะเป็นเงิน 1,350 ล้านบาท เมื่อหนี้ครบกำหนดชำระ อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องชำระหนี้ 1,500 ล้านบาทรวมทั้งดอกเบี้ย เป็นต้น


เงื่อนไขข้อผูกพันในการกู้

การกู้เงินภายในประเทศมักไม่มีข้อผูกพันหรือเงื่อนไขที่จะบังคับให้รัฐบาลต้องปฏิบัติ แต่ถ้าเป็นเงินกู้จากแหล่งเงินกู้ต่างประเทศมักมีเงื่อนไขที่รัฐบาลจะต้องปฏิบัติ เช่น มีข้อตกลงว่ารัฐบาลจะต้องซื้อสินค้าหรือว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศผู้ให้กู้ ซึ่งเป็นผลให้ต้องซื้อของในราคาแพง เป็นต้น หรือกรณีกู้เงินจากธนาคารโลก ธนาคารโลกมักจะเข้าควบคุมการดำเนินงานตามโครงการเงินกู้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การจ่ายเงินตามโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


ความหมาย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก

ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐดังที่กล่าวข้างต้นนั้น อาจมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจกระทำอย่างเป็นทางการโดยรัฐ หรือโดยตัวแทนที่ชอบธรรมของรัฐ เช่นการประชุมสุดยอด การดำเนินการทางการฑูต การแถลงการณ์ประท้วง การยื่นประท้วงต่อองค์การสหประชาชาติ หรืออาจเป็นการกระทำไม่เป็นทางการ เช่น การก่อการร้าย การกระทำจารกรรม การโจมตีประเทศหนึ่งโดยสื่อมวลชนของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งไม่ได้กระทำการในนามของรัฐ เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะร่วมมือหรือขัดแย้ง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น หากไม่ร่วมมือก็ขัดแย้ง ความสัมพันธ์ในลักษณะขัดแย้ง เช่น สงคราม การแทรกแซงบ่อนทำลาย การขยายจักรวรรดินิยม การผนวกดินแดนของอีกประเทศหนึ่ง ส่วนความร่วมมือ ได้แก่ การกระชับความสัมพันธ์ทางการฑูต การร่วมเป็นพันธมิตร การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและวัฒนธรรมเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ต่าง ๆ นี้อาจมีลักษณะผสมผสานกันได้ เช่น บางครั้งรุนแรง บางครั้งนุ่มนวล บางครั้งเป็นทางการ บางครั้งกึ่งทางการ หรือบางครั้งร่วมมือในเรื่องหนึ่งแต่ขัดแย้งในอีกเรื่องหนึ่ง เป็นต้น

ขอบเขตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตที่ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมข้ามพรมแดนเพื่อมีอิทธิพลหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตลอดจนการตัดสินใจขององค์การหรือรัฐบางต่างประเทศ เช่น การดำเนินการทางการฑูต การทหาร การแสวงหาพันธมิตร การแทรกแซงบ่อนทำลายประเทศอื่น การใช้กำลังบีบบังคับ การกำหนดและดำเนินนโยบายต่างประเทศ เป็นต้น กิจกรรมบางเรื่องอาจไม่เป็นกิจกรรมการเมืองโดยตรง แต่หากมีวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ก็ถือเป็นกิจกรรมการเมืองเช่นกัน เช่น การแลกเปลี่ยนทีมนักปิงปองระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2514 มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเนื่องจากประเทศทั้งสองต้องการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือผ่อนคลายความตึงเครียด และรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ หลังจากเป็นศัตรูกันมาตลอด กิจกรรมเช่นนี้เรียกว่า การเมืองระหว่างประเทศ
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทรัพยากรด้านบริการหรือวัตถุเพื่อตอบสนองความต้องการในการอุปโภคของผู้แลกเปลี่ยน เช่น การซื้อขายสินค้า การให้ทุนกู้ยืม การธนาคาร เป็นต้น เนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรแตกต่างและไม่เท่าเทียมกัน และยังต้องการทรัพยากรของประเทศอื่นหรือบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกามีทรัพยากรน้ำมัน แต่ยังต้องการรักษาน้ำมันสำรองในปัจจุบันจึงซื้อน้ำมันจากประเทศเม็กซิโก และประเทศอาหรับ ความต้องการทรัพยากรซึ่งกันและกันเช่นนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากร (วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกษตรกรรม เทคโนโลยี บริการ ฯลฯ) โดยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการซื้อขาย ให้ แลกเปลี่ยน ยืม ก็ตาม โดยมีกฎเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติบางประการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร การปิดล้อมทางเศรษฐกิจ การตั้งกำแพงภาษี การกำหนดอัตราหุ้นและดอกเบี้ย เป็นต้น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้ เรียกว่า เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3. ความสัมพันธ์ทางสังคม หมายถึง กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามขอบเขตพรมแดนของรัฐ เช่น การส่งฑูตวัฒนธรรมหรือคณะนาฎศิลป์ไปแสดงในประเทศต่าง ๆ การเผยแพร่ศาสนาโดยตัวแทนทางศาสนาของประเทศอื่น การเผยแพร่ศิลปะของประเทศหนึ่งในประเทศอื่น เป็นต้น
4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เมื่อมีการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ข้ามเขตพรมแดนของรัฐมากขึ้น เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวดำเนินไปโดยเรียบร้อยและมีระเบียบแบบแผน ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติที่แต่ละประเทศพึงยึดถือปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ขึ้น กฎเกณฑ์หรือระเบียบนี้อาจปรากฏในรูปข้อตกลงลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เป็นต้นว่า สนธิสัญญา อนุสัญญา กติกาสัญญา กฎบัตร ความตกลง ฯลฯ หรืออาจเป็นความเข้าใจกันซึ่งแต่ละฝ่ายยึดถือปฏิบัติโดยไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ ซึ่งเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีต่างเรียกว่า กฎหมายระหว่างประเทศทั้งสิ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้รัฐ หรือตัวแสดงอื่น ๆ ระหว่างประเทศได้ประพฤติปฏิบัติตนตามกติกาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างกัน และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมโลก ซึ่งครอบคลุมความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการเมือง เช่น สนธิสัญญาทางพันธมิตร สนธิสัญญาทางไมตรี กฎบัตร สหประชาชาติ ด้านเศรษฐกิจ เช่น สนธิสัญญาจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศ ข้อตกลงเรื่องการค้าและพิกัดภาษี ด้านสังคม เช่น สิทธิมนุษยชน การแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี เช่น ความตกลงเรื่องการค้นคว้าในอวกาศ เป็นต้น
5. ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ประเภทนี้มุ่งให้มีการแลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้และความช่วยเหลือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น มีการร่วมมือกันค้นคว้าทดลองและวิจัยในบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา การร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์หลายประเทศ เพื่อกำจัดโรคภัยไข้เจ็บสำคัญ เช่น โรคมะเร็ง การร่วมมือกันส่งเสริมพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การให้รางวัลระหว่างประเทศ จัดการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ เป็นต้น

ผลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและชาติต่าง ๆ มากกว่าที่เคยเป็นในอดีต เนื่องจากจำนวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ต้องพึ่งพากันมากขึ้นในด้านต่าง ๆ และพัฒนาการของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีผลให้โลกดูจะมีขนาดเล็กลง ซึ่งผลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีต่อด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ผลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อสังคมโลก รัฐ ประชาชนและผู้นำของประเทศความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะมีมากน้อยเพียงใดนั้น อาจพิจารณาได้ว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวส่งผลถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดในโลก ในเรื่องนี้คำตอบที่ได้รับค่อนข้างชัดเจน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อมนุษย์ทุกคนบนผืนโลกดังกล่าวต่อไปนี้
1) ด้านสังคมโลก ปัจจุบันโลก สังคมโลกเป็นที่รวมของกลุ่มสังคมที่เรียกว่า รัฐ มีระบบและกระบวนการดำเนินความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เช่น ระบบการเมืองระหว่างประเทศ ระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างชาติมหาอำนาจมีผลกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ทางการเมืองของมหาอำนาจอื่น และกลุ่มประเทศอื่น ๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น การที่จีนแยกตัวจากสหภาพโซเวียตและเนินนโยบายทางการเมืองที่เป็นอิสระ และต่อมาได้คบค้าทำไมตรีกับสหรัฐอเมริกาย่อมมีผลทำให้โลกซึ่งเคยถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม มีสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำได้เปลี่ยนแปลงไป ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจก็เช่นกัน เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำขึ้น โดยเริ่มต้นจากกลุ่มประเทศยุโรป ก็มีผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก หรือเมื่อค่าของเงินสกุลใหญ่ ๆ เช่น เงินดอลลาร์ตก ก็มีผลกระทบกระเทือนเศรษฐกิจของโลกตามไปด้วย
2) ด้านรัฐ นอกเหนือจากผลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งกระทบต่อสังคมโลกและสะท้อนถึงรัฐแต่ละรัฐแล้ว รัฐยังเป็นผู้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสัมพันธ์กับตนโดยตรงอีกด้วย ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจดำเนินนโยบายต่างประเทศของอภิมหาอำนาจย่อมมีผลต่อการตัดสินใจของรัฐที่สังกัดกลุ่มของอภิมหาอำนาจนั้น ดังกรณีที่ประเทศพันธมิตรของสหภาพโซเวียตหลายประเทศตัดสินใจไม่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1984 หลังจากที่สหภาพโซเวียตประกาศไม่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาดังกล่าว ผลต่อรัฐนี้ โดยทั่วไปจะเกิดมากในสถานการณ์ซึ่งรัฐอยู่ร่วมในสมาคม กลุ่มโอลิมปิก หรือในสถานการณ์ซึ่งรัฐอยู่ใกล้เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอาณาบริเวณใกล้เคียง ดังกรณีที่ประเทศไทยได้รับผลจากการสู้รบในกัมพูชา จนต้องแบกภาระผู้ลี้ภัยจากอินโดจีนจำนวนมาก และได้รับภัยจากการรุกล้ำดินแดนของฝ่ายเวียดนาม เป็นต้น ผลที่เกิดต่อรัฐอาจเป็นได้ทั้งในแง่ความมั่นคง ระบบโครงสร้างและกระบวนการทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมภายในรัฐ ดังจะกล่าวในหัวข้อต่อไป
3) ด้านประชาชน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งกระทบกระเทือนรัฐย่อมมีผลต่อประชาชนด้วย ผลดังกล่าวนี้ย่อมมีแตกต่างกันไป คือ อาจกระทบคนบางกลุ่มบางเหล่า หรือกระทบประชาชนโดยส่วนรวมทั้งโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมก็ได้ ตัวอย่างกรณีสงครามในกัมพูชานั้น ประชาชนไทยที่ได้รับความกระทบกระเทือนก็คือ พวกที่อยู่ตามบริเวณชายแดนไทยกัมพูชา เช่น ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ส่วนประชาชนที่อยู่ห่างไกลออกไปได้รับผลน้อยลง
4) ด้านผู้นำของประเทศ การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศ หรือเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจมีผลต่อภาวะผู้นำภายในประเทศด้วย และอาจมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่ปกครองประเทศก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่มีการแทรกแซงจากต่างประเทศ ดังตัวอย่างกรณีที่นาย โงดินห์ เดียม ต้องถูกโค่นล้มอำนาจและถูกสังหาร เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเลิกให้ความสนับสนุน หรือกรณีที่มีการตั้งรัฐบาลหุ่นและผู้นำหุ่นโดยประเทศผู้รุกราน (เช่น รัฐบาลหุ่นในแมนจูเรียสมัยที่ญี่ปุ่นเข้ารุกรานก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือรัฐบาลกัมพูชาของนายเฮง สัมริน เป็นต้น)
ผลที่เกิดต่อสังคมโลก ต่อรัฐ ต่อประชาชน และต่อผู้นำของประเทศเช่นนี้ อาจเป็นได้ทั้งในทางดีหรือทางร้ายดังจะกล่าวต่อไป
2. ลักษณะของผลที่เกิดขึ้นต่อบุคคลและกลุ่มสังคมทั้งภายในและระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์หลักของการที่มนุษย์เข้ามารวมกลุ่มเป็นสังคมภายในรัฐ หรือสังคมระหว่างประเทศก็ตาม คือ การแสวงหาความมั่นคงในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคม วัตถุประสงค์ดังกล่าวจะบรรลุตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการทั้งองค์ประกอบส่วนบุคคลและองค์ประกอบจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ องค์ประกอบสภาพแวดล้อมอาจเป็นเรื่องภายในกลุ่ม ภายในรัฐ หรือเป็นสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงนับว่ามีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์และสังคมมนุษย์ ดังปรากฏในหลายลักษณะ ดังนี้
1) ด้านความมั่นคงของชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะทางด้านการเมืองและการทหาร ส่งผลถึงความมั่นคงปลอดภัย เอกราชและอำนาจอธิปไตยของชาติตลอดจนเสถียรภาพทางการเมืองและบูรณภาพแห่งดินแดนของแต่ละชาติ ดังจะเห็นได้ว่าสงครามระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นรูปหนึ่งของความสัมพันธ์ที่เกิดข้ามเขตพรมแดนของรัฐ การแทรกแซงบ่อนทำลายโดยบุคคล หรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ตลอดจนการใช้หรือการข่มขู่คุกคามว่าจะใช้กำลังโดยยังไม่ถึงขั้นสงคราม ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนความมั่นคงของชาติทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น การผนวกดินแดน แลตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโธเนีย โดยสหภาพโซเวียหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือการที่รัฐซิมบับเว ถูกแทรกแซงโดยประเทศแอฟริกาใต้ เป็นต้น
ความมั่นคงของชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่องเอกราช บูรณภาพแห่งดินแดน และการธำรงไว้ซึ่งสิทธิแห่งรัฐอธิปไตยเป็นเรื่องที่ผู้กำหนดนโยบายของประเทศจัดเป็นเป้าหมายสำคัญอันดับแรกของนโยบายต่างประเทศ ถึงแม้ความมั่นคงของชาตินี้จะได้รับการประกันได้บางส่วนโดยการพัฒนากำลังความสามารถและฐานอำนาจภายในประเทศก็ตาม แต่โดยทั่วไปแล้วความมั่นคงของชาติได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างมากจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อประกันความมั่นคงของชาติ เช่นโดยใช้วิธีการทางการฑูต การทหาร ดังกรณีการทำสัญญาป้องกันร่วมกันทั้งสองฝ่าย การรวมกลุ่มพันธมิตรทางทหาร การดำเนินการทหาร เป็นต้น
2) ด้านความปลอดภัยและการกินดีอยู่ดีของประชาชน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจมีผลทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมต่อความปลอดภัยและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละประเทศ กล่าวคือ นอกเหนือจากผลต่อความมั่นคงของประเทศซึ่งย่อมกระทบกระเทือนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอยู่แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยังอาจกระทบต่อความปลอดภัย และการกินดีอยู่ดีของประชาชนโดยยังไม่กระทบความมั่นคงของประเทศโดยตรงก็ได้ ตัวอย่างเช่น กรณีที่สายการบินเกาหลีใต้ถูกเครื่องบินสหภาพโซเวียตยิงตก หรือกรณีที่ผู้ก่อการร้ายกระทำการรุนแรงในประเทศอื่น จนมีผลให้ประชาชนได้รับอันตราย เป็นต้น
3) ด้านการพัฒนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจมีผลต่อความพยายามของรัฐและประชาชนในการเปลี่ยนแปลงฐานะทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคนิควิทยาการของตนด้วย การเปลี่ยนแปลงฐานะดังกล่าวนี้ คือ การพัฒนานั่นเอง การพัฒนาการเมืองมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองไปสู่ระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพ เปลี่ยนไปโดยสันติ และรองรับการกระทบกระเทือนจากภายนอกได้ด้วยดี การพัฒนาทางเศรษฐกิจมุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตและแลกเปลี่ยนสินค้นและบริการที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลประโยชน์ตอบแทนต่อประชาชนและรัฐได้ดีขึ้น การพัฒนาทางสังคมมุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและความสัมพันธ์ทางสังคมในประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น ปราศจากการขัดแย้งรุนแรง และการพัฒนาทางเทคนิควิทยาการมุ่งให้มีการยกระดับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ความพยายามให้เกิดการพัฒนานี้ส่วนหนึ่งได้รับผลจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ล้วนได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมทางการเมืองและเศรษฐกิจภายนอกประเทศ รวมทั้งนโยบายต่างประเทศของประเทศที่มีฐานะดีทางเศรษฐกิจและการทหาร ตัวอย่างเช่น หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติและประเทศที่มีฐานะดีมีส่วนในการช่วยเหลือบูรณะพัฒนาประเทศที่ยากจนและกำลังพัฒนาทั้งหลาย เช่นโดยการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน การลงทุน การให้คำปรึกษาหารือทางวิชาการหรือการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรสำคัญในประเทศเหล่านี้
โดยสรุป ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีผลต่อความสงบเรียบร้อย การกินดีอยู่ดีและการพัฒนาของประชาชน รัฐ และสังคมโลกทั้งโดยตรงและโดยอ้อม จึงนับว่ามีความสำคัญ
มีคุณค่าควรแก่การสนใจติดตามทำความเข้าใจทั้งโดยนักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบายและประชาชนโดยทั่วไป

โทษของอินเทอร์เน็ต

โทษของอินเทอเน็ต


  1. โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)

อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?

หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต

    • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
    • มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
    • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
    • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
    • ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
    • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
    • การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
    • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
    • ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้


สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ

  1. เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)

  2. เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้

    • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
    • มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
    • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
    • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
    • ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
    • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
    • การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
    • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
    • ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้

                    ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
  • ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
    ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
  • หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
  • ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542

ภัยใกล้ตัวผู้หญิง

อันตราย..ภัยใกล้ตัวผู้หญิง
ภัยโรคจิตภารกิจ : ลวนลามผ่านกรรมวิธีทางคำพูด กิริยาหรือแม้กระทั่งสายตากลุ่มเป้าหมาย : ดักแซวผู้หญิงทุกวัย โดยเฉพาะวัยรุ่น ไม่เว้นแม้แต่ตุ๊ด กระเทย ทอม ดี้ วิธีรับมือ : พิจารณาพฤติกรรมก่อนว่าจัดอยู่โรคจิตประเภทใด ถ้าเป็นโรคจิต (คนบ้า) อย่าต่อปากต่อคำให้แจ้งตำรวจทันที แต่ถ้าเป็นโรคจิตประเภทจิตเสื่อม หรือจิตต่ำทราม ให้ร้องกรี๊ดเสียงดังๆขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง จากนั้นแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ (หลังรุมสกรัมกันเองแล้ว)


ภัยบัตรเครดิต (แบบไม่รู้ตัว)ภารกิจ : ส่วนใหญ่ทำเป็นขบวนการ ใช้สำเนาเอกสาร บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ที่คุณเคยยื่นทำธุรกรรมการเงินตามบริษัทหรือสมัครสมาชิกที่ต่างๆมาปลอมแปลงแอบอ้างทำบัตรเครดิตกลุ่มเป้าหมาย : คนทำงานฐานเงินเดือนและอายุงานตามกำหนด (ส่วนใหญ่ 15,000 บาทและอายุงาน 1 ปีขึ้นไป)สถานที่ : ร้านค้า, ห้างสรรพสินค้าที่เขียนป้ายว่า "ยินดีรับบัตรเครดิต" จากนั้นก็รูดกระหน่ำและเชิดหนีวิธีรับมือ : เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องขีดคร่อมเอกสารทุกฉบับ และเขียนกำกับว่าใช้เพื่อทำธุรกรรมประเภทใด หรือถ้าสงสัยยอดค่าใช้จ่ายในใบเรียกเก็บค่าต่างๆให้รีบติดต่อบริษัทนั้นๆ เพื่อค้นหาข้อมูล

ภัยเครื่องดื่ม (แอลกอฮอล์)ภารกิจ : ส่วนใหญ่แอบผสมสารออกฤทธิ์ประเภทเดียวกับยานอนหลับในเครื่องดื่มกลุ่มเป้าหมาย : วัยรุ่นผู้หญิงชอบเที่ยวกลางคืน แต่งตัววูบวาบ เซ็กซี่ดูมีฐานะวิธีรับมือ : แต่งตัวให้มิดชิด ไม่เที่ยวคนเดียวหรือรับดริ๊งค์จากคนแปลกหน้าหมายเหตุ : เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทำให้ประสิทธิภาพในการขับรถลดลง แต่สำหรับผู้หญิงนับเป็นปัจจัยเสี่ยงให้มีการเสียตัวสูง ผู้หญิงกว่าครึ่งผับเลือกผสมแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน นอกเหนือจากเสียงเพลงและสิ่งบันเทิงใจอื่นๆ อาทิ ผู้ชายหน้าตาดี (ที่ยังไม่รู้จักนิสัย) เสื้อผ้าชุดใหม่ที่ใส่แล้วสุดวาบหวิว (จริงๆแล้วคนหน้าตาดีใส่อะไรก็สวยทั้งนั้น) และค็อกเทลสูตรใหม่ (ที่ไม่รู้ว่าใครผสมสารอะไรให้ดื่มหรือเปล่า)

ภัยหมอดูหลอกลวงภารกิจ : พูดจาหว่านล้อม ทำทีทำนายทักดวงชะตาในแง่ลบ ขอดูลายมือหรือพยายามแตะเนื้อต้องตัว และใช้ยาชาหรือยาสลบและเรียกทรัพย์ในรูปแบบสะเดาะเคราะห์ โดยคุณไม่ได้สติกลุ่มเป้าหมาย : ผู้หญิงบุคคลทั่วไปที่หน้าตาไม่ค่อยฉลาด จิตอ่อน งมงายเกินเหตุ งก อยากรวยทางลัด ระแวงกลัวสามีหรือแฟนจะนอกใจ จึงต้องพึ่งไสยศาสตร์วิธีรับมือ : งดเดินทางคนเดียวและใส่เครื่องประดับเกินความจำเป็น ดูดวงได้แต่ต้องดูอย่างมีสติ ไม่หลงงมงาย (ถ้าไม่อยากหมดตัว)

ภัยใบเสร็จรับเงินภารกิจ : ขายของแต่ไม่ให้ใบเสร็จรับเงิน (โดยอ้างเหตุผลต่างๆนานา) หรือสุ่มกล่าวหาผู้ซื้อว่าขโมยสินค้า ขอค้นตัวและเรียกค่าปรับ 10 เท่า (ถ้าไม่มีใบเสร็จยืนยัน)กลุ่มเป้าหมาย : ลูกค้าที่ซื้อสินค้าแล้วไม่ขอใบเสร็จรับเงิน หรือทิ้งใบเสร็จรับเงินทันทีที่ซื้อสินค้าวิธีรับมือ : เก็บใบเสร็จรับเงินไว้ยืนยันทุกครั้งเมื่อซื้อสินค้า และถ้าสงสัยว่าพนักงานจะร่วมมือเป็นกระบวนการ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อตรวจสอบ

ภัยสังคมภารกิจ : ก่อเหตุในจุดที่ลับตาคน พูดจากล่อมจนเหยื่อไว้ใจกลุ่มเป้าหมาย : ผู้หญิงที่ชอบไปไหนมาไหนคนเดียว และใส่เครื่องประดับประดาวิธีรับมือ : อย่าหลงเชื่อคำพูดหรือไว้ใจคนแปลกหน้า, ไม่ควรไปไหนตามลำพัง

ภัยห้องลองเสื้อภารกิจ : จัดห้องลองแบบใช้ผ้ากั้น ,ติดกล้องวงจรปิด, ติดตั้งกระจกไว้ในลักษณะเอียงตามมุมต่างๆ (ซึ่งสามารถสะท้อนให้คนภายนอกมองผ่านได้)กลุ่มเป้าหมาย : ผู้หญิงวัยรุ่นที่นิยมซื้อเสื้อผ้าตามร้านริมทางหรือในที่สาธารณะ และใช้บริการห้องลองแบบผ้ากั้นวิธีรับมือ : ช่วยกันตะโกนร้องประจานเจ้าของร้านทันทีที่พบเหตุการณ์แบบนี้ (ให้อายจนขายของไม่ได้เลย) แจ้งตำรวจจับทันที และระมัดระวังตัวทุกครั้งเวลาลองเสื้อผ้า

ภัยรถแท็กซี่ภารกิจ : ป้ายยาไว้ที่ฝ่ามือ แล้วแกล้งเอื้อมมือกดปุ่มมิเตอร์ จากนั้นพยายามอังมือไว้ที่ช่องแอร์ โดยหันแอร์ไปทางผู้โดยสารและปิดกระจกรถกลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้หญิงวัยรุ่นที่นุ่งกระโปรงสั้น สวมเสื้อผ้าไม่มิดชิด ใส่เครื่องประดับล่อแหลมวิธีรับมือ : ถ้าตกอยู่ในสถานการณ์นี้ให้รีบเปิดกระจกสูดอากาศภายนอก และลงจากรถทันที จดทะเบียนรถ แจ้งตำรวจ

ภัยอาวุธป้องกันตัวภารกิจ : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตัว อาทิ คัตเตอร์, เครื่องช็อตไฟฟ้า, สเปรย์พริกไทย, กระบอกไฟฟ้า, ปืนปากกา ของเหยือ กลับมาทำร้ายเหยื่อกลุ่มเป้าหมาย : วัยรุ่นหญิงที่ชอบพกอุปกรณ์เหล่านี้ติดกระเป๋าวิธีรับมือ : อุปกรณ์เหล่านี้เปรียบเสมือนดาบสองคม ก่อนใช้ควรศึกษารายละเอียดและวิธีใช้ และควรพิจารณาว่าเครื่องมือเหล่านี้สามารถรับมือกับคนร้ายได้หรือเปล่า ถ้าคิดว่าไม่รอด ไม่ต้องควักออกมา จะเป็นภัยตัวเองเปล่าๆ

ในเมื่อเรารู้วิธีป้องกันตัวเองแล้วอย่าลืมเอามาใช้ล่ะข้อมูลจาก
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

การรณรงค์และมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านทำข้อตกลงต่อต้านยาเสพติดร่วมกัน เพื่อให้การแพร่ระบาดลดลง มีผลให้ผู้ค้ายาเสพติดเปลี่ยนรูปแบบ วิธีการ เพื่อหลบหนีมาตรการตรวจจับอันรัดกุมของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลในประเทศเพื่อนบ้าน จนผู้ค้าไม่สามารถส่งสินค้า หรือลำเลียงยาเสพติดได้อย่างสะดวก
กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า จากข้อมูลที่ได้รับจากนักโทษยาเสพติดที่ถูกจับในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ประมวลได้ว่า คนไทยถูกชักนำเข้าสู่กระบวนการค้ายาเสพติด ในฐานะผู้ลักลอบขนยาเสพติดจากแหล่งผลิตในประเทศที่สาม (อินเดียและปากีสถาน) ไปยังแหล่งจำหน่ายในประเทศจีน
ผู้จ้างวานส่วนใหญ่เป็นชาวแอฟริกันตะวันตกที่เข้ามาในประเทศไทย โดยกลุ่มคนเหล่านี้เริ่มต้นด้วยการใช้ นกต่อ ที่เป็นผู้หญิงไทยซึ่งอาจเป็นภรรยา ติดต่อกับ "เหยื่อ" หญิงไทยที่พร้อมจะเสี่ยงเป็นผู้ขนลำเลียงยาเสพติด "นกต่อ" ให้เหยื่อเดินทางไปยังแหล่งยาเสพติด โดยออกค่าเดินทางพร้อมเงินติดตัวไม่รวมค่าจ้างและ เมื่อได้รับของแล้วเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทาง คือ ประเทศจีนซึ่งปัจจุบันมีตัวเลขนักโทษไทย ที่ถูกจับกุมในข้อหาลักลอบขนยาเสพติดอยู่ถึง 60 ราย
ที่น่าเป็นห่วงคือกว่าครึ่งของนักโทษที่ถูกจับกุมมีความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ว่า อายุในวัยทำงานเฉลี่ย 20-30 ปี ซึ่งผู้ถูกจับกุมถูกนายหน้า คนกลางชักจูงว่าหากถูกจับได้รับโทษจำคุก เพียง 5-10 ปีเ ท่านั้น แต่ในความเป็นจริงโทษที่ได้รับนั้นเป็นโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตหรือจำคุก ตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังมีหญิงไทยต้องโทษ ในอเมริกาใต้17คนข้อหา "ลักลอบขนยาเสพติด" หญิงไทยดังกล่าวหวังขนยาเสพติดโคเคน กลับประเทศไทยแต่ถูกจับได้
กองคุ้มครองฯ กรมการกงสุลจึงออกเตือนหญิงไทยหรือผู้ที่กำลังจะตกเป็นเหยื่อระวังการถูกชัก ชวนหรือชักจูงจากขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติเหล่านี้ และสุดท้ายผู้ขนส่งยาเสพติดไม่มีทางรอดต้องโทษสูงสุดประหารชีวิตครอบครัว เดือดร้อนยิ่งกว่าเดิมรวมทั้งขอให้คำนึงถึงผลร้ายของการค้ายาเสพติดที่ทำลาย สังคมและเยาวชนพบเบาะแสหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่กองคุ้มครองฯ โทร.0-2575-1046-51

ที่มา คมชัดลึก
"นังผู้หญิงใจบาป ขนาดผัวมันยังฆ่าได้ลงคอ!!"
คำด่าทอจากสังคมยังคงดังก้องอยู่ในความรู้สึกของ มะลิ และ เอื้องจันทน์ 2 ผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ซึ่งผู้เสียชีวิตก็หาใช่คนอื่นคนไกล แต่เป็นสามีที่รวมเรียงเคียงหมอนมาด้วยกัน
สังคมรุมประณามหยามเหยียด โดยหารู้ไม่ว่า ก่อนที่ทั้งคู่จะกลายเป็นจำเลย พวกเธอต้องตกอยู่ในสภาพ....ผู้ถูกสามีกระทำความรุนแรง จนบอบช้ำรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ!!
"สมกับคำด่าของเขาแล้ว"
มะลิ หญิงชาวชัยภูมิ วัย 30 ปี อาชีพก่อสร้าง พูดด้วยน้ำเสียงขมขื่น "เพราะฉันเป็นคนฆ่าเขาเองกับมือ" เธอรับสารภาพ ทั้งที่ตลอด 6 ปีที่อยู่กินกับสามีอาชีพช่างก่อสร้างเหมือนกัน จนมีลูกชายด้วยกัน 1 คนนั้น เขาไม่เคยเป็นสามีและพ่อที่ดีเลย วันๆ เอาแต่กินเหล้า เสพยาบ้า ซึ่งนี่เป็นต้นเหตุที่ทำให้ทั้งสองทะเลาะกันบ่อยๆ และทุกครั้งที่ทะเลาะกัน เขาจะกระทำกับเธอประดุจกระสอบทราย
"เวลาเขาโกรธเขาจะชอบบีบคอ ด่าหยาบๆ ทำร้ายตบตี มีหลายครั้งเจ็บปางตายต้องนอนหยอดน้ำข้าวต้ม"
แต่มะลิก็อดทน แม้เขาจะทำร้ายอย่างไร เธอก็ยังให้อภัย...
กระทั่ง ...เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ทั้งคู่ทะเลาะกันด้วยเรื่องเดิมๆ ที่เขาเอาแต่กินเหล้าไม่สนใจลูกเมีย เขาลงมือตบตีจนมะลิทนไม่ได้ บอกเลิก และจะกลับไปอยู่บ้านกับพ่อแม่ที่ชัยภูมิ
"ก่อนจะไป ขอตีให้น่วมก่อน" สามีพูดก่อนเดินถือค้อนเข้ามาหวังจะตีมะลิ ระหว่างนั้นมะลิหันไปเห็นมีดอยู่ข้างๆ เธอจึงยกมีดขึ้นมาเพื่อใช้ป้องกันตัว เหตุการณ์ชุลมุนอยู่พักหนึ่ง แล้วมีดก็ปักเข้าไปที่ท้องของผู้เป็นสามี!! เขาล้มลง พร้อมกับทิ้งตราบาปให้มะลิต้อง "มือเปื้อนเลือด" ไปตลอดชีวิต
ขณะนี้ คดีของมะลิอยู่ในชั้นการพิจารณาสอบสวนของอัยการ โดยได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิเพื่อนหญิง
เช่นเดียวกับ เอื้องจันทน์ อายุ 52 ปี ชาวจ.พะเยา อาชีพค้าขาย ซึ่งมีชะตาชีวิตไม่ต่างจากมะลิ แม้สามีของเอื้องจันทน์จะไม่ติดเหล้า ติดยา แต่ความเจ้าชู้ของเขานั้น หาตัวจับยากจริงๆ
"อยู่กับเขามา 17 ปี เจ็บช้ำน้ำใจเรื่องความเจ้าชู้มาตลอด" ซึ่งนี่เป็นต้นเหตุที่ทำให้ทั้งคู่มีปากเสียงกันตลอด 17 ปีที่ใช้ชีวิตร่วมกัน
"ครั้งล่าสุด อายุตั้ง 77 แล้วยังไม่เลิกเจ้าชู้ แถมยังโทรศัพท์พูดเสียงอ่อนเสียงหวานกับผู้หญิงคนนั้นต่อหน้าเรา แต่พอคุยกับเราตะคอกใส่ทุกคำ" เอื้องจันทน์ระบายความอัดอั้น "พอเราจับได้ ก็ไม่ยอมรับ แถมยังจุดธูปต่อหน้าพระสาบานว่า หากมีจริง ขอให้ตายภายใน 3 วัน 7 วัน"
2 เดือนต่อมาหลังจากวันที่สาบาน เขาก็เสียชีวิตลง! จากเหตุการณ์ที่ทั้งคู่มีปากเสียงกันอย่างรุนแรงเรื่องที่ฝ่ายชายไปมีหญิงอื่น ไม่ยอมให้เงินใช้จ่ายเป็นค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ เอื้องจันทน์ถูกสามีทำร้ายด้วยการเตะ ตีเข่า ชกบริเวณหน้าอก และตีด้วยท่อนเหล็ก เธอจึงหยิบมีดขึ้นมาเพื่อป้องกันตัว เป็นจังหวะเดียวกับที่สามีโถมตัวเข้ามาพอดี ปลายมีดแทงเข้าไปบริเวณซี่โครงซ้าย 1 ครั้ง
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้เอื้องจันทน์ถูกควบคุมตัวเข้าฝากขังที่ทัณฑสถานหญิงเป็นเวลา 18 วัน ข้อหาฆ่าคนตาย ก่อนที่บุตรสาวจะประกันตัวออกมา เธอยอมรับกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีข้อแก้ตัว ซึ่งถ้าไม่ห่วงลูกสาวและหลานๆ ให้เธออยู่ในนั้นตลอดไปก็ได้
"ยอมรับ ตัวเองว่าเป็นคนบาป เครียดมาก มีแต่คนประณามว่าดิฉันเลว แต่ไม่มีใครรู้เลยว่า ตลอดเวลามันเจ็บช้ำแค่ไหน ด้วยความสัตย์จริงว่า ฉันไม่ได้อยากฆ่าเขา เพราะถ้าอยากให้เขาตายจริง คงไม่อยู่กับเขามาถึง 17 ปีหรอก" แล้วเธอก็ร้องไห้
ขณะนี้ คดีของเอื้องจันทน์อยู่ระหว่างการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ว่าผลการดำเนินคดีจะออกมาอย่างไร เอื้องจันทน์ก็น้อมรับชะตากรรม
"ชีวิตนี้เพิ่งได้มาเจอ ขอแค่ครั้งเดียวพอแล้ว ชาติไหนๆ ก็ขออย่าได้เจออีกเลย" พูดด้วยน้ำเสียงสะอื้น
เรื่องราวชีวิตของเธอทั้งคู่ เปรียบเสมือนกระจกส่องครอบครัวไทยหลายๆ ครอบครัว ที่ผู้หญิงถูกกระทำเหมือนไม่ใช่คน จริงอยู่ แม้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในทางกฎหมาย มันเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ และควรได้รับโทษทัณฑ์ แต่หากมองย้อนกลับไปถึงสาเหตุโศกนาฏกรรม
"ตราบาป" ที่ได้รับวันนี้ มันไม่ยุติธรรมเลย!!!
สถิติน่าห่วง ชนวนโศกนาฏกรรม
- นางสาวสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า สำหรับกรณีภรรยาฆ่าสามีนั้น เมื่อก่อนนานๆ 4-5 ปี มี 1-2 คน แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเป็น 2-3 คนต่อปี
- นางสาวปานจิตต์ แก้วสว่าง นักสังคมสงเคราะห์ มูลนิธิผู้หญิง ได้ให้ข้อมูลว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 มูลนิธิได้ช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 110 คน โดยเกือบทั้งหมดเป็นความรุนแรงที่กระทำโดยสามี นอกจากนี้ยังได้ช่วยเหลือผู้หญิงในคดีเจตนาฆ่าสามีจำนวน 4 คน
- นายจีราวัฒน์ จันทร์หอม หัวหน้าฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ ศูนย์ประชาบดี 1300 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยข้อมูล ในช่วงเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนสิงหาคม 2552 มีผู้หญิงถูกละเมิดทางร่างกาย ทางเพศ ทางจิตใจ โทรศัพท์มาปรึกษาและขอความช่วยเหลือ 262 เรื่อง ซึ่งมีถึง 214 เรื่องที่ถูกทำร้ายร่างกาย ส่วนใหญ่มีอายุ 31-40 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงเกิดขึ้นกับผู้หญิง
ที่มา สนุกดอทคอม

ทฤษฎีภาวะผู้นำ

ทฤษฏีภาวะผู้นำ
ทฤษฏีภาวะผู้นำ ที่สำคัญ มี 3 ทฤษฏี คือ
1.) ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำหรือทฤษฎีอุปนิสัย (Trait Theory)
หลัก บุคคลเป็นผู้นำเพราะ มีบุคลิกลักษณะ ความสามารถที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำ (รูปร่างหน้าตา สติปัญญา วิสัยทัศน์มีความสามารถเหนือคนอื่น ความประพฤติดี มนุษยสัมพันธ์ที่ดี )
โดยคุณลักษณะที่เด่นชัด คือ
  • มีความรู้ความสามารถในการงาน
  • เข้าร่วมกิจกรรมด้วยใจรัก
  • ได้รับการยอมรับจากสมาชิก สมาชิกเต็มใจทำงานร่วม
2. ทฤษฎี สถานการณ์ (Situation Theory)
หลักการ ผู้นำเกิดจากสถานการณ์บางอย่างผลักดันให้บุคคลต้องแสดงบทบาทผู้นำ หรือต้องพัฒนาลักษณะผู้นำขึ้นมา (ฮิตเลอร์ มุสโสลินี หรือ เหมาเจ๋อตุง) ทฤษฏีนี้ยอมรับความสัมพันธ์ของผู้นำและกลุ่ม ผู้นำต้องครองใจปวงชนผู้แวดล้อม

3. ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ (Interaction Theory)
หลักการ ความเป็นผู้นำเกิดจากปฏิสัมพันธ์ ความเป็นผู้นำ+สถานการณ์
(วิเคราะห์จากคุณสมบัติผู้นำ และ สถานการณ์ ) เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ความเป็นผู้นำก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ผู้นำจึงมีได้หลายคน ผลัดเปลี่ยนกันไป
ทฤษฎีอื่นๆ ในเรื่อง ภาวะผู้นำ โดย Terry สรุป ไว้ 4 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีสนับสนุน (supporting Theory) เป็นทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้นำเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงาน มีโอกาสร่วมวางแผนและตัดสินใจในพันธกิจขององค์การ (ผู้นำต้องยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้ร่วมงาน )
2. ทฤษฎีทางสังคมวิทยา(Sociological Theory) มีความเชื่อว่าผู้นำต้องแสดงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ร่วมงานโดยมุ่งจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
3. ทฤษฎีทางจิตวิทยา( Psychological Theory) มีความเชื่อว่าผู้นำต้องพัฒนาระบบสร้างแรงจูงใจ มีจิตวิทยาสูง ใช้เทคนิคกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกรับผิดชอบต่อองค์การ
4. ทฤษฎียึดถืออำนาจ (Autocratic Theory) มีความเชื่อในการใช้อำนาจ ของตนเองในการบริหาร สั่งการ บีบบังคับให้ปฏิบัติงาน โดยไม่ต้องการเหตุผลในการอธิบายความ
รูปแบบและประเภทของผู้นำ
รูปแบบ ของผู้นำ มี 2 รูปแบบ คือ
  • ผู้นำที่เน้นงานเป็นศูนย์กลาง (Tasked –Related Function)
  • ผู้นำเน้นความสัมพันธ์กลุ่มเป็นศูนย์กลาง(Group-maintenance)
Likert ได้ศึกษารูปแบบผู้นำในมหามิชิแกน พบว่า การบริหารแบ่งผู้นำเป็น 4 แบบ
  1. ผู้บริหารมุ่งใช้อำนาจ(Exploitative authority)
  2. ผู้บริหารใช้อำนาจอย่างเมตตา
  3. ผู้บริหารแบบการปรึกษาหารือ
  4. ผู้บริหารเน้นความร่วมมือกับทุกฝ่าย
ประเภทของผู้นำ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
  1. ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย (Autocratic Leader) ลักษณะเผด็จการชอบสั่งการใช้อำนาจกดขี่ / ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง /การบังคับบัญชาสั่งการจากข้างบนลงล่าง/ผู้ช่วย คือผู้ใต้บังคับบัญชา
  2. ผู้นำแบบเสรี(Laissez-faire leader) ไม่ยึดกฏเกณฑ์ตายตัว ปรับเปลี่ยนได้ตามผู้ร่วมงานเสนอ /ปล่อยผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ไปเรื่อยๆ /ไม่มีความคิดสร้างสรรค์งานใหม่ / ไม่มีการประเมินผลงาน
  3. ผู้นำแบบประชาธิปไตย(Democratic leader) ยึดถือความคิดกลุ่มเหนือความคิดตนเอง /แบ่งงาน/มอบหมายงานเป็นระบบ/ให้คำแนะนำในการงาน/สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงาน โดยใช้กฎเกณฑ์สร้างสรรค์งาน
กล่าวโดยสรุป สภาพปัจจุบัน ผู้นำ มี 4 แบบ คือ
  1. ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-faire leader) ผู้นำจะปล่อยให้ผู้ร่วมงานตัดสินใจดำเนินการได้เอง ไม่ต้องรอการตัดสินใจจากผู้บังคับบัญชา
  2. ผู้นำแบบเกื้อกูล หรือ แบบใช้พระคุณ(Charismatic Leadership) มีพฤติกรรมอ่อนโยน เห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้หลักธรรม หลักมนุษยสัมพันธ์
  3. ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) เชื่อมั่นตนเอง ชอบสั่งการ ตัดสินใจตามอารมณ์ ผูกขาดการตัดสินใจที่ตัวคนเดียว
  4. ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic leader) ถือเอาความคิดของกลุ่มเป็นหลัก ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ปัจจุบันถือว่าเป็นแบบผู้นำที่ดีที่สุด
ผู้นำ มีในองค์การ (บุคลิกลักษณะ +อุปนิสัย+ภาวะผู้นำ)
ผู้บริหาร เป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน องค์การ
ผู้นำ/ผู้บริหารที่ดี ต้องฝึกพฤติกรรมแห่งการเป็นผู้นำ 10 ประการ ดังนี้
  1. นักวางแผน (Planning)
  2. นักจัดระเบียบ (Organizing)
  3. นักประสานงาน( Coordinating)
  4. นักสื่อสาร (Communicating)
  5. นักมอบหมายงาน(Delegating)
  6. นักตัดสินใจ(Decision-Making)
  7. นักมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation)
  8. นักฝึกอบรม(Training)
  9. นักจัดกระบวนการกลุ่ม
  10. นักประเมินผลงาน
ปัจจัยในการสร้างความเป็นผู้นำ ขึ้นอยู่กับ 5 ปัจจัยหลัก คือ
  1. ภูมิหลังและประสบการณ์ (Background and Experience) พื้นฐานครอบครัวและมวลประสบการณ์เดิมที่ผ่านมาในช่วงชีวิต
  2. สติปัญญาและคุณภาพสมอง (Intellectual and mental quality) มีทักษะทางภาษา การติดต่อสื่อสาร / ความสามารถด้านการมีเหตุผล /ความจำ/ความรอบรู้
  3. คุณลักษณะทางร่างกาย (Physical attributes) ผู้นำที่ร่างกายแข็งแรง จะมีจิตใจที่ดี
  4. บุคลิกภาพและความสนใจ( Personality and Interests) ความสนใจ กระตือรือร้นและความเต็มใจในการปฏิบัติงาน
  5. ความเชื่อมั่นในตัวเอง(Self-Confidence) ผู้นำต้องสร้างความเชื่อมั่น/มั่นใจในตัว
  6. คุณสมบัติของผู้นำ ผู้นำ ผู้บริหารที่ดี ต้องมี คุณลักษณะพื้นฐาน 10 ประการ คือ
    1. สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีไหวพริบดี
    2. มีความสามารถในการวิเคราะห์
    3. วิเคราะห์เหตุการณ์ ตัดสินใจดี
    4. มีความคิดริเริ่ม และเป็นผู้รอบรู้
    5. เป็นที่พึ่งแก่เพื่อนร่วมงาน และเชื่อถือไว้วางใจได้
    6. ตัดสินใจแน่นอน ไม่รวนเร
    7. รู้จักปรับตัว ละเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
    8. จิตใจมั่นคง ไม่เอาแต่อารมณ์ของตนเป็นใหญ่
    9. มีคุณลักษณะและความประพฤติส่วนตัวที่ดี
    10. มีคุณลักษณะของผู้นำ
    เทคนิคการสร้างเสริมความเป็นผู้นำที่ ฝึกฝนได้ มี 8 ประการ คือ
    1. สำรวจตัวเอง พิจารณาข้อบกพร่อง เปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำที่ดี
    2. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านบริหาร และ จิตวิทยาสังคม
    3. ฝึกอบรมในสถาบันปรับปรุงบุคลิกภาพ
    4. พัฒนาการสนทนาโต้ตอบ ฝึกการเป็นนักฟัง /นักพูด(ถ่ายทอด)ที่ดี
    5. ปรับปรังบุคลิกภาพ ภายในและภายนอก ของตนเอง
    6. ทบทวนท่าที ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นให้สุภาพนุ่มนวล เป็นปกตินิสัย
    7. ฝึกฝน สังเกตการณ์ กล้าตัดสินใจ
    8. ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีเหตุผล ในการทำงาน มีความสุขุมรอบคอบ
    กล่าวโดยสรุป คุณลักษณะผู้นำที่ทำให้การบริหารงานประสบความสำเร็จ คือ
    1. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สุขุมเยือกเย็น
    2. มีวิสัยทัศน์ กว้างไกล
    3. .สามารถบริหารความขัดแย้งได้ดี
    4. กล้าตัดสินใจ รวดเร็ว ถูกต้อง
    5. ติดต่อสื่อสารได้ดี
    6. รอบรู้ในงานที่รับผิดชอบ
    7. มีความขยันขันแข็ง มานะ อดทน
    8. เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์
    9. สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี
    10. วินิจฉัยปัญหา คาดการณ์เหตุการณ์ได้ดี
    11. มีมนุษยสัมพันธ์ ทักษะทางสังคม
    12. .ทำงานในสภาวะกดดัน ตึงเครียดไดดี
    13. มีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ
    14. วางแผนและประสานแผนได้ดี
    15. มีสัมพันธภาพที่ดีกับองค์กรอื่น
    16. รู้จักใช้ข้อมูล สารสนเทศให้เกิดประโยชน์
    17. มนุษยสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำ บุคคลในองค์กรมี 3 บทบาท คือ 1. มนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
      • กำหนดนโยบาย เป้าหมายองค์กรให้ชัดเจน ชี้แจงผู้ใต้บังคับบัญชา
      • กำหนดอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
      • สั่งการให้มีความชัดเจน ไม่กำกวม
      • มีความซื่อสัตย์ต่อคำสั่งที่สั่งออกไป ไม่กลับคำ ซัดทอดความผิดให้ลูกน้อง
      • สอนงาน หรือ อธิบายงาน ให้ชัดเจน
      • ติดต่อสื่อสารได้ชัดเจน และทั่วถึงกับลูกน้อง
      • มีความยืดหยุ่นในการทำงานในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบ ตามสมควรแก่เหตุ
      • ใช้วินัยควบคุมให้เสมอภาค ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง
      2. มนุษยสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
      • ตั้งใจทำงาน รับฟังคำชี้แจงของหัวหน้าด้วยความตั้งใจ
      • ไม่นินทาผู้บังคับบัญชา (ลูกน้องไม่จงรักภักดี+ไม่เคารพนับถือ)
      • มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนางาน โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
      • หลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ
      • สนับสนุนกิจการของผู้บังคับบัญชา เรียนนิสัยของผู้บังคับบัญชา
      • ไม่ควรคล้อยตามผู้บังคับบัญชาทุกเรื่องโดยไม่มีเหตุผล
      • ปกป้องไม่ให้ผู้บังคับบัญชาเสียหน้า หรืออับอาย 8.ไม่ก่อศัตรูกับเพื่อนร่วมงาน
      • ไม่บ่นถึงความยากลำบากของการงานที่ได้รับมอบหมาย
      • มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์และจริงใจต่อผู้บังคับบัญชา
      3. มนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
      • จริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน
      • ให้ความช่วยเหลือเพื่อนในการงาน
      • รับผิดชอบร่วมกัน ไม่ซัดทอดความผิดให้เพื่อน
      • ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน
      • ให้ความสนใจเพื่อนอย่างจริงใจ
      • ยอมรับความเป็นตัวตนของเพื่อน
      • เข้าใจความต้องการ และความรู้สึกของเพื่อน
      • เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย
      • สนใจในสิ่งที่เพื่อนพูด พูดในสิ่งที่เพื่อนสนใจ
      • ยิ้มและมีอารมณ์ขันตามควร
      • มีมารยาทที่ดี ต่อเพื่อนๆ
      • ให้ความรัก ความเคารพความคิดเพื่อน
      • มีคุณธรรมในการติดต่อเพื่อนๆ (เมตตา กรุณา เห็นใจ ให้ความช่วยเหลือ)
      • .มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อน

แนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน

แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน
ในปัจจุบันทั้งธนาคารโลกและประเทศไทยได้เน้นมาแก้ไขปัญหาความยากจนที่เกิดจากปัจจัยภายในบุคคล โดยการเปิดโอกาสด้านต่างๆให้กับคนจนมากขึ้นทั้งโอกาสทางสังคม โดยการสร้างระบบประกันสังคมและระบบตาข่ายความคุ้มครองทางสังคมต่างๆ ขยายโอกาสทางเศรษฐกิจโดยการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ พัฒนาตลาด และให้เงินทุนกู้ยืมต่าง ๆ รวมถึงโอกาสทางการเมือง
ในแง่ของการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยตนเองมากขึ้น ส่วนปัญหาที่เกิดจาก ปัจจัยภายนอกแก้ไขโดยการบูรณาการแผนงานและงบประมาณต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ ในการดำเนินการ นอกจากนี้การพัฒนาเศรษฐกิจจะสร้างความสมดุลโดยรักษาเศรษฐกิจในระดับมหภาคให้มีเสถียรภาพ
และมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนโดย สศช.
1. การส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจมหภาคให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน
1.1 ส่งเสริมนโยบายการพัฒนาประเทศที่สมดุล โดยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
1.2 ส่งเสริมการเจริญเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่คนจนส่วนใหญ่พึ่งพิง เช่น ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร ภาคการก่อสร้างและภาคบริการ
1.3 ส่งเสริมนโยบายการเงินและการคลัง เช่น มาตรการภาษีที่เอื้อต่อวิสาหกิจ ชุมชน และระบบสินเชื่อรายย่อย (micro credit) การพิจารณาจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า และการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐในการจัดบริการพื้นฐานทางสังคมแก่คนจน และผู้ด้อยโอกาส
1.4 ส่งเสริมนโยบายการค้าและการเงินระหว่างประเทศ เช่น ส่งเสริมการเปิดเสรีและการเจรจาการค้าที่ส่งผลดีแก่ภาคเกษตร และแรงงาน การลงทุนในสาขาที่เอื้อประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน ได้แก่ กิจการที่มีมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตภาคเกษตร และกิจการที่มีเทคโนโลยีระดับกลางที่จ้างแรงงานฝีมือระดับต่ำไปฝึกอบรม
2. การเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนจน
2.1 พัฒนากระบวนการเรียนรู้ เช่น การเปิดเวทีประชาคมท้องถิ่น การขยายเครือข่ายและศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน การถ่ายทอด ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน
2.2 พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เช่น ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืน การพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดภายใน/ต่างประเทศ ส่งเสริมการระดมเงินออมในชุมชน และสนับสนุนการใช้กระบวนการสหกรณ์
2.3 ปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเหมาะสม เช่น การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื่อมโยงกับการผลิต และการพัฒนาในสาขาต่างๆ การวิจัยและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม สามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงสู่ชุมชนได้
2.4 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เช่น การส่งเสริมการรวมตัวของชุมชนและประชาสังคม การมีแผนชุมชนอย่างเป็นองค์รวม ที่มุ่งการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เป็นหลัก
3. การพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคมและผู้ด้อยโอกาส
3.1 การพัฒนาระบบบริการทางสังคมให้เข้าถึงกลุ่มคนจนและผู้ด้อยโอกาส เช่น ขยายขอบเขตการประกันสังคมให้ครอบคลุม แรงงาน นอกระบบและการประกันการว่างงาน ปรับกฎระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการของคนจน และผู้ด้อยโอกาส
3.2 การจัดสวัสดิการสังคมให้มีความสอดคล้องกับปัญหาของกลุ่มเป้าหมายยากจนและผู้ด้อยโอกาส เช่น ส่งเสริมบทบาทของ อบต. องค์กรชุมชนและสถาบันต่าง ๆ ในชุมชนในการจัดสวัสดิการโดยใช้ทุนที่มีอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ของท้องถิ่น ปรับปรุง กองทุนหมุนเวียน ที่มีอยู่ในระดับตำบลให้มีเอกภาพ ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุน
4. สวัสดิการโดยชุมชน
4.1 การเตรียมความพร้อมในการสร้างหลักประกันทางสางคมแก่ประชากรแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมและดูแล กลุ่มผู้สูงอายุ เช่น การประกันชราภาพโดยสมัครใจและโดยการบังคับ การส่งเสริมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อให้มี การประกันตน สำหรับกลุ่มต่าง ๆ พิจารณากำหนดมาตรการลดหย่อนทางภาษีเงินได้แก่ครอบครัวที่ดูแลผู้ด้อยโอกาสในครอบครัว
5. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
5.1 ส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น เช่น การกระจายอำนาจการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และการเงินการคลังให้ท้องถิ่น
5.2 เร่งรัดการแก้ไขปัญหาอย่างเป้นธรรมในเรื่องที่ดินทำกินและการจัดสรรน้ำ เช่น การกระจายการถือครองที่ดินและปฏิรูปที่ดิน แก่เกษตรกรรายย่อยที่ยากจน การบริหารจัดการแหล่งน้ำที่มีอยู่ให้มีการนำมาใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม การผลิต การบริโภค อย่างเต็มประสิทธิภาพ
5.3 ปรับปรุงและเร่งรัดกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ร.บ.การประมง เป็นต้น
5.4 สร้างกลไกแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งจากกรแย่งชิงทรัพยากร เช่น การมีเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การเร่งรัดให้มี สถาบันท้องถิ่นหรือคณะผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นทำหน้าที่แก้ไขปัญหา
6. การปรับปรุงระบบบริหารภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
6.1 การปรับกระบวนทัศน์และบทบาทหน่วยงานภาครัฐ ทั้งหน่วยงานส่วนกลางและระดับท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาความยากจน จากการกำกับ ควบคุม มาเป็นการอำนวยความสะดวก สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และเครือข่ายชุมชน
6.2 การจัดทำแผนงาน/โครงการที่มีลักษณะเป็นองค์รวม โดยมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคีการพัฒนา เพื่อจัดลำดับความสำคัญของโครงการและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
6.3 ปรับปรุงระบบงบประมาณ โดยเน้นผลงานและสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณในลักษณะเน้นการอุดหนุนแก่ชุมชน
6.4 จัดทำโครงการใหม่ ๆ เช่น โครงการต่อยอดนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล โครงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแก่ผู้ด้อยโอกาส ในกลุ่มต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ

ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)

โดย ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีฝนตกุกและปริมาณน้ำฝนสูง จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่ในหลายพื้นที่เกือบทุกภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิตกห่วงใยในปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ มา และทรงวิเคราะหืลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและทรงคำนึง ถึงการเลือกใช้วิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้อที่และสมรรถนะของกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ตลอดจนงบ ประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

วิธีการต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมคือ

1. การก่อสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมแต่ครั้งโบราณโดยการก่อสร้างคัน ดินกั้นน้ำขนาดที่เหมาะสมขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่างๆ ด้านใน เช่น คันกั้นน้ำโครงการมูโนะ และโครงการปิเหล็งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมท้นให้ออกไป โดยการก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำ ท่วมโดยให้น้ำไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเลตามความเหมาะสม ซึ่งการดำเนินการสนองพระราชดำริวิธีนี้ ดำเนินการโดยกรมชลประทาน ในการแก้ไขปัญหาจากแม่น้ำโก-ลก เข้ามาท่วมไร่นาของราษฎรเสียหายหลายหมื่นไร่ทุกปี การขุดคลองมูโนะได้ช่วยบรรเทาลงได้เป็นอย่างดี

3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกหรือช่วยให้กระแสน้ำไหล เร็วยิ่งขึ้น อันเป็นการบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วมขังได้ โดยใช้วิธีการดังนี้


ขุดลอกลำน้ำตื้นเขินให้น้ำไหลสะดวกขึ้น

ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบมิให้เป็นอุปสรรคต่อทางเดินของน้ำ

กำจัดวัชพืช ผักตบชวา และรื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลให้ออกไปจนหมดสิ้น

หากลำน้ำคดโค้งมาก ให้หาแนวทางขุดคลองใหม่เป็นลำน้ำสายตรงให้น้ำไหลสะดวก

การก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเป็นมาตรการป้องกันน้ำท่วมที่สำคัญประการหนึ่งใน

การกักเก็บน้ำที่ไหลท่วมล้นในฤดูน้ำหลาก โดย เก็บไว้ทางด้านเหนือเขื่อนในลักษณะอ่างเก็บน้ำซึ่งปัจจุบันดำเนินการตามพระ ราชดำริมากมายหลายแห่งในประเทศไทย และการป้องกันน้ำท่วมใหญ่ในระดับประเทศนั้น ขณะนี้ได้อยู่ในระหว่างดำเนินการหลายจุด คือ

- โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- โครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบนจังหวัดนครนายก

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ แก้มลิง

จาก สภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครมีลักษณะลุ่มต่ำทำให้มีการระบายน้ำยาม เกิดภาวะน้ำท่วมให้ออกจากพื้นที่เป็นไปอย่างล่าช้า คูคลองจำนวนมากมีความลาดเทน้อยอีกทั้งมีจำนวนหลายคลองที่ลำน้ำตื้นเขน มีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้เกิดเป็นสาเหตุในหลายปัจจัยของการเกิดน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานครและเขต ปริมณฑลเป็นระยะเวลายาวนาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการด้านน้ำท่วม ในวิธีการที่ตรัสว่า แก้มลิง ซึ่ได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า

...ลิง โดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้มลิงจะเอากล้วยเข้า ไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง...

เปรียบ เทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำให้มรวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง

ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง

1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลอง พักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
2. เมื่อ ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ แก้มลิง นี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว(One Way Flow)

หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ

1.การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
2.เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
3.การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง

จาก หลักการข้างต้น การสนองพระราชดำริจึงดำเนินการพิจารณาจากการใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติ หรือพื้นที่ว่างเปล่านำมาใช้เป็นบ่อพักน้ำแหล่งน้ำที่จะนำน้ำเข้าบ่อพักและ ระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินการศึกษาและพิจารณากำหนดรูปแบบของโครงการแล้วสามารถแบ่งออก ได้เป็น 2 ส่วน คือ

โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำการรับน้ำในพื้นที่ฝั่ง

ตะวัน ออกของแม่น้ำเจ้าพระยา นับตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร มาตามคลองสายต่างๆ โดยใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ และพิจารณาหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าตามความเหมาะสม เป็นบ่อพักน้ำเพิ่มเติมโดยใช้คลองธรรมชาติในแนวเหนือ-ใต้ เช่น คลองพระองค์ไชยนุชิต คลองบางปลา คลองด่าน คลองบางปิ้ง คลองตำหรุ คลองชายทะเล เป็นแหล่งระบายน้ำเข้าและออกจากบ่อพักน้ำ


โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำใน

พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่เจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปคลองมหาชัย-สนามชัยและแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร

นอก จากสภาพพื้นที่ทั่วไปแถบนั้นยังไม่มีคันกั้นน้ำริมฝั่งเจ้าพระยาและคันกั้น น้ำขนานกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลก็ยังไม่มีการควบคุมเพียงพอ ดังนั้นเมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นจึงหมุนไม่ให้น้ำจืดไหลออกจากทะเลหรือไหล ออกทะเบได้ช้ามากก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงหรือท่วมขังนานวัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีต่างๆ คือ

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ซึ่งใช้หลักในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ปิดกั้นไม่ให้น้ำจากด้านท้ายน้ำไหลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำเมื่อน้ำทะเลมีระดับ สูง ถือเป็นโครงการอเนกประสงค์ที่สำคัญยิ่งในอนาคตด้วย นอก จากช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่บางส่วนทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ตอนใต้ทางรถไฟสายใต้มาแล้ว ยังจะช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปในแม่น้ำท่าจีนช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม โดยสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโคบริโภคได้อีกด้วย

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ประกอบด้วย
ประตูระบายน้ำ ค.ส.ล. ปิดกั้นน้ำแม่น้ำท่าจีน
ประตูเรือสัญจร
ทำนบดินปิดลำน้ำเดิม
บันไดปลา
สถานีสูบน้ำขนาดใหญ่
โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย
ดำเนินการก่อสร้างทำนบปิดกั้นในคลองมหาชัย-คลองสนามชัย พร้อมก่อสร้าง
ประตูระบายน้ำ รวมทั้งคลองสาขาต่างๆ คือ
ประตูระบายน้ำคลองสหกรณ์สาย 3
ประตูระบายน้ำคลองเจ็ก
ประตูระบายน้ำคลองโคกขาม
ประตูระบายน้ำคลองแสมดำ
ประตูระบายน้ำคลองแสมดำใต้
พื้นที่ทั้งหมดนี้จะทำหน้าที่รับน้ำและน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนมาเก็บไว้

พร้อม กับระบายลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเลโดยอาศัยแรงโน้ม ถ่วงของโลกและการสูบน้ำที่เหมาะสมและสอดคล้องกัน โดยจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในระบายน้ำตามคูคลองธรรมชาติต่างๆ ในช่วงฤดูฝน และช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มมิให้ไหลเข้าไปในแม่น้ำลำคลองและพื้นที่ การเกษตร รวมทั้งสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ด้านเหนือประตูระบายน้ำ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้อีกด้วย
โครงการแก้มลิง คลองสุนัขหอน ประกอบด้วย
ประตูปิดกั้นคลองสุนัขหอน พร้อมอาคาร ประกอบด้วย
สถานีสูบน้ำออกจากคลองสุนัขหอน
โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจาก

ทุกข์ ภัย ที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัยซึ่งแนวพระราชดำริ อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ว่า ...ได้ ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงใน อนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่

เกี่ยวกับอาเซียน

กำเนิดอาเซียน

    อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้


วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
    เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน

          นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

กฎหมายแรงงานที่ใช้ในปัจจุบัน

กฎหมายครอบครัว

ครอบครัวเป็นสถาบันขั้นพื้นฐานและเป็นสถาบันหลักของสังคม ครอบครัวจึงประกอบไปด้วย สามี ภรรยา บุตรและญาติ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวจึงเป็นกฏหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในครอบครัวหรือเครือญาติ ดังนั้น หลักกฏหมายที่ใช้โดยทั่วไปอาจนำมาใช้กับกฏหมายครอบครัวไม่ได้ กฏหมายครอบครัวจึงเป็นกฏหมายที่อ้างอิงหลักศีลธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีมากที่สุด เช่น เงื่อนไขเกี่ยวกับการหมั้น การสมรส การปฏิบัติต่อกันระหว่างสามีและภรรยา การปกครองบุตร ทรัพย์สินระหว่างสามีและภรรยา ตลอดถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมรดก เป็นต้น

 
การหมั้น
ก่อนทำการสมรสมักจะมีพิธีหมั้นก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่า การสมรสจะต้องมีการหมั้นเสมอไปทุกครั้ง การหมั้นจะมีก็ได้ไม่มีก็ได้ ที่กฏหมายบัญญัติเกี่ยวกับการหมั้นเอาไว้ด้วยนั้นก็เพื่อรักษาและส่งเสริมประเพณีของไทย
ดังนั้นการหมั้นจึงเป็นเรื่องการทำสัญญาระหว่างฝ่ายชายและหญิงเพื่อตกลงว่าจะสมรสกันแต่เป็นสัญญาที่แตกต่างจากสัญญาโดยทั่วไป คือเมื่อมีการผิดสัญญาหมั้นโดยฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรสด้วย อีกฝ่ายหนึ่งจะถือเป็นเหตุไปฟ้องร้องต่อศาลบังคับให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาต้องทำการสมรสด้วยไม่ได้ จะทำได้ก็แต่เพียงให้ฝ่ายที่ผิดสัญญารับผิดใช้ค่าทดแทนเท่านั้น
ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว ได้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการหมั้นโดยสรุปได้ดังนี้
  1. ชายและหญิงจะทำการหมั้นได้ต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ สัญญาหมั้นนั้นใช้ไม่ได้
  2. ถ้าชายและหญิง เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ คืออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถทำการหมั้นได้ด้วยตนเอง ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องได้รับคำยินยอมจากบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองของชายและหญิงด้วย
ในการหมั้นฝ่ายชายจะต้องให้ทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นเงิน ทอง หรือแหวนเพชรแก่ฝ่ายหญิง ซึ่งทรัพย์สินนี้เรียกว่า ของหมั้น มิฉะนั้นจะถือว่าการหมั้นนี้ไม่ถูกต้อง และนอกจากนี้ฝ่ายชายยังอาจให้ทรัพย์สินแก่พ่อแม่ของหญิงคู่หมั้น โดยถือว่าทรัพย์สินนี้เป็นสินสอด หากต่อมาภายหลังฝ่ายหญิง คู่หมั้นไม่ยอมสมรสกับชายคู่หมั้นก็จะต้องคืนสินสอดและของหมั้นให้กับฝ่ายชายคู่หมั้นด้วย

การสมรสการสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้

การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกล จริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดีจะทำการ สมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิตโดยไม่ คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้

ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ไม่ได้

หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อย กว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่
(1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
(2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
(3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการ รักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์หรือ
(4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

การให้ความยินยอมให้ทำการสมรสจะกระทำได้แต่โดย
(1) ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
(2) ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่าย และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอม
(3) ถ้ามีเหตุจำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนก็ได้
ความยินยอมนั้น เมื่อให้แล้วถอนไม่ได้

การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วย กัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม กฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้

หลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
    1.คู่สมรสทั้งสองที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทั้งสองฝ่ายไปแสดง 2. ถ้าคู่สมรสมีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด นอกจากต้องใช้หลักฐานในข้อ 1 แล้ว ต้องนำบิดามารดาหรือผู้ปกครอง หรือหนังสือยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ซึ่งมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนเซ็นรับรองไปแสดง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง การให้คำยินยอมในการสมรส สำหรับคู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรืออายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องได้รับความยินยอมจากพ่อและแม่ของทั้งสองฝ่ายจึงจะทำการสมรสกันได้ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดวิธีการไว้ชัดเจน ซึ่งดำเนินการได้ดังนี้ 1.ลงลายมือชื่อในทะเบียน ขณะจดทะเบียนสมรส หรือ 2.ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม โดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่ายและลงลายมือชื่อของผู้ให้คำยินยอมในหนังสือนั้นหรือ 3.ถ้ามีความจำเป็นจะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนก็ได้ การยินยอมนั้นเมื่อได้แล้วไม่สามารถถอนได้ การสมรสที่ดำเนินการตามเงื่อนไขและขั้นตอนตามที่กฏหมายกำหนดแล้ว ต่อมาภายหลังทราบว่า การสมรสนั้นขัดต่อเงื่อนไขที่กฏหมายกำหนด เช่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้วมาจดทะเบียนซ้ำ การสมรสครั้งหลังนี้ก็ถือว่าสมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายอยู่จนกว่าฝ่ายที่เสียหายจะฟ้องร้องต่อศาลให้พิพากษาเพิกถอนการสมรสนั้น บุคคลอื่นไม่มีอำนาจที่จะเพิกถอนการสมรสได้ แม้นายทะเบียนผู้รับจดทะเบียนนั้นเอง ทั้งนี้ ในการจดทะเบียนสมรสนั้น นอกเหนือจากหญิงและชายจะเป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องกันตามกฎหมายแล้ว บุตรที่เกิดมาก็เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วย คู่สมรสได้รับการยกย่องในสังคม ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ หากเป็นข้าราชการจะมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตร ค่าเล่าเรียนและค่ารักษาพยาบาล

การจดทะเบียนรับรองบุตร
ในระหว่างการสมรส สามีภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายและมีบุตรด้วยกันถือว่า บุตรผู้นั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของบิดา แต่หากไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันถือว่าบุตรที่เกิดนั้นเป็นบุตรนอกสมรส หรือหากบิดาไม่ปรากฏ บุตรนั้นมีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของมารดา ซึ่งโดยกฎหมายจะถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของมารดาเสมอ
บุตรนอกสมรสจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของบิดาได้ต่อเมื่อปฏิบัติตามที่กฏหมายกำหนดไว้ดังนี้
  • เมื่อบิดามารดาจดทะเบียนกันภายหลัง
  • บิดาได้ให้การจดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร
  • เมื่อศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ในการจดทะเบียนรับรองบุตรนั้น บิดามารดาและบุตรจะต้องไปที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือสำนักงาน ถ้ามารดาและบุตรไม่ได้ไปด้วย นายทะเบียนผู้รับจดจะแจ้งไปยังฝ่ายที่ไม่มา เพื่อให้มาให้ความยินยอมหรือคัดค้านการขอจดทะเบียนนั้น ถ้าพ้น 60 วัน นับแต่วันแจ้งความของนายทะเบียนไปถึงถือว่าไม่มีการคัดค้าน นายทะเบียนก็จะรับจดทะเบียนให้ ถ้ามารดาและบุตรอยู่ต่างประเทศก็จะขยายเวลาไปเป็น 180 วัน เมื่อบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว บุตรนั้นย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา นับแต่วันที่จดทะเบียนนั้นไป

มรดกและการทำพินัยกรรม
มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆ เช่นสิทธิตามสัญญาซื้อขาย สิทธิในการไถ่ถอนการขายฝาก เป็นต้น เมื่อบุคคลได้ถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินทุกอย่าง รวมทั้งที่มีในขณะนั้นถือว่าเป็นมรดกของบุคคลนั้นที่จะตกทอดไปยังลูกหลานหรือญาติสนิทที่เป็นทายาท เว้นแต่สิทธิบางอย่างซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัว ถือว่าสิทธินั้นเป็นอันสิ้นไปเมื่อบุคคลนั้นได้ตายไป ไม่ถือว่าเป็นมรดก
ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม
ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม คือ ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

  1. ทายาทโดยธรรม หรือเรียกว่าทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ ผู้ที่มีความผูกพันกับผู้ตายโดยความเป็นญาติหรือคู่สมรสหรือเป็นบุตร ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ 6 ลำดับ ได้แก่
    • ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตร บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม
    • บิดามารดา
    • พี่น้องร่วมบิดามารดา
    • พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือมารดา
    • ปู่ ย่า ตา ยาย
    • ลุง ป้า น้า อา
  2. ผู้รับพินัยกรรม หมายถึง ผู้ที่มีชื่อปรากฎในพินัยกรรมที่เจ้าของมรดกมีเจตนายกทรัพย์ให้ ในกรณีที่ผู้ตายประสงค์ที่จะให้ญาติของตนแต่ละคนได้รับมรดกในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน หรือต้องการให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติมามีส่วนรับมรดกของตน หรือไม่ต้องการให้ญาติของตนคนใดมารับมรดกของตัวเอง ทำได้โดยการทำพินัยกรรมระบุไว้ว่าจะยกทรัพย์สินใดให้แก่ใครบ้าง เป็นจำนวนเท่าไร ซึ่งผู้รับมรดกตามพินัยกรรมนี้ เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือเป็นวัด มูลนิธิ หรือโรงพยาบาลก็ได้
การทำพินัยกรรม
ในการทำพินัยกรรม จะต้องเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหนังสือพินัยกรรม ซึ่งมีแบบพิธีในการทำ 3 แบบดังนี้

  1. พินัยกรรมธรรมดา เป็นหนังสือพินัยกรรมที่ลง วัน เดือน ปี ทีทำมีพยานรับรอง 2 คน และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงชื่อไว้ด้วย ถ้าลงเขียนหนังสือไม่ได้ให้ประทับตราหัวแม่มือขวาลงในพินัยกรรมแทนการลงชื่อ
  2. พินัยกรรมเขียนเอง ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือตัวเองทั้งฉบับ แล้วลงชื่อ และวันเดือนปี ที่ทำพินัยกรรมด้วย
  3. พินัยกรรมทำที่อำเภอ ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปหานายอำเภอ หรือผู้อำนวยการเขตให้ทำพินัยกรรมให้ และต้องลงชื่อไว้ในพินัยกรรมนั้นด้วยพร้อมพยานอีก 2 คน ในการพินัยกรรมไม่ว่าจะเป็นแบบใดนั้น ผู้ทำพินัยกรรมจะสามารถยกเลิกเมื่อใดก็ได้ และพินัยกรรมจะมีผลใช้บังคับก็ต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเท่านั้น