เที่ยวกาฬสินธ์กะเพื่อนรัก

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อควรรู้ในการเลือกตั้ง 2554

ใกล้เข้ามาทุกทีสำหรับการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญของคนไทยทุกคนที่ต้องปฏิบัติ เพื่อมอบอำนาจอธิปไตยของเราให้กับผู้แทนราษฎร เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนเราในสภา รักษาผลประโยชน์ และบริหารประเทศของเรา ดังนั้นการเลือกตั้งจึงมีความสำคัญต่อประเทศชาติ และต่อตัวเราชาวไทยมาก จึงขอเชิญชวนผู้ที่มีสิทธิไปใช้สิทธิของตัวเอง เลือกผู้แทนที่ดีเข้าสภา … ว่าแต่การเลือกตั้งต้องเตรียมตัวอย่างไร หรือตรวจสอบรายชื่อเขตเลือกตั้งที่ไหน อย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลในการเลือกตั้งมาฝากกันค่ะ 

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. นั้น เป็นตัวแทนของประชาชน ที่เข้าไปทำหน้าที่ ออกกฎหมาย และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา โดยในการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะต้องมี ส.ส. มีจำนวน 500 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ คือ

ส.ส. แบบแบ่งเขต

เป็นการเลือกตั้งจาก 375 เขตทั่วประเทศ โดยในแต่ละเขตจะเลือกผู้สมัครที่มีคะแนนสูงสุด ให้เป็น ส.ส. โดยจะมี ส.ส. ทั้งสิ้นจำนวน 375 คน

ส.ส.แบบสัดส่วน หรือ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

เป็นการเลือกตั้งโดยทางพรรคการเมืองนั้น ๆ จะส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ไว้เพียงบัญชีเดียว เรียงลำดับไม่จำนวนไม่เกิน 125 รายชื่อ ซึ่งการเลือกตั้งแบบนี้ หมายถึงทั้งประเทศ จะมีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อชุดเดียวกัน มีทั้งสิ้นจำนวน 125 คน

สำหรับหน้าที่ของ สมาชิกสภาผู้แทนราฎร มีดังต่อไปนี้ 

- ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
- เป็นผู้เลือก ส.ส. ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
- ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
- จัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศ
- นำปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนเสนอรัฐบาล

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 

- สัญชาติไทย หรือผู้มีสัญชาติไทยโดยได้แปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
- อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง ในปีนี้ถึงว่า ต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบรูณ์ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

ลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

- ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
- อยู่ในระหว่างถูกเพิงถอนสิทธิการเลือกตั้ง
- ต้องคุมขังโดยหมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
- วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน หรือไม่สมประกอบ

การเตรียมตัวในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

การตรวจสอบรายชื่อ

- ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 20 วันก่อนวันเลือกตั้ง ที่ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการเขต ที่ทำการ อบต. สำนักงานเทศบาล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หรือเขตชุมชน

- ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 15 วันก่อนวันเลือกตั้ง จากหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน (ส.ส.12)

ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่พบชื่อของตนเองในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้แจ้งทะเบียนนายอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยนำหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้มาแสดงด้วย

หลักฐานที่ใช้ในการเลือกตั้ง

- บัตรประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
- บัตรหรือหลักฐานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้มีรูปถ่ายและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เช่น
- บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ใบขับขี่
- หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต)


การแจ้งเหตุที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้

สำหรับผู้ที่มีเหตุทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้ ต้องทำหนังสือชี้แจงเหตุ ส.ส. 28 ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน โดยระบุเลขประจำตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ยื่นหนังสือต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นด้วยตนเอง มอบหมายผู้อื่นหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

ผู้ที่มีเหตุทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้

- ผู้มีธุรกิจจำเป็นเร่งด่วนต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
- ผู้ป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- ผู้พิการหรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- ผู้มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
- ผู้ประสบเหตุสุดวิสัย เช่น อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ


การเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด

สำหรับผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่คนละจังหวัดกับทะเบียนบ้าน หรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปัจจุบันไม่ถึง 90 วัน สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลางของจังหวัดที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ได้ แต่ต้องยืนคำขอลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน

การเลือกตั้งในเขตจังหวัด

สำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านตามทะเบียนบ้าน แต่ในวันเลือกตั้งต้องเดินทางออกนอกเขต ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ก็สามารถไปแสดงตนเพื่อขอลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้งได้ (การเลือกตั้งล่วงหน้า) ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง โดยไม่ต้องยื่นคำขอลงทะเบียนแต่ต้องแจ้งขอใช้สิทธิดังกล่าวต่อ กกต.เขต

การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ต่างประเทศ ต้องขอลงทะเบียนใช้สิทธินอกราชอาณาจักรก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน (ภายในวันที่ 2 มิถุนายน 2554) และไปลงคะแนนล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 17 - 26 มิถุนายน 2554 ณ สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือลงคะแนนทางไปรษณีย์ ตามที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลกำหนด


ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง มีดังต่อไปนี้

- ห้ามซื้อเสียง หรือจัดเตรียมซื้อเสียง
- ห้ามรับเงินและประโยชน์อื่นใด เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง
- ห้ามส่งเสียง และห้ามขายหรือจัดเลี้ยงสุรา ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
- ห้ามนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิของลูกจ้าง
- ห้ามขัดขวางหรือหน่วงเหนี่ยวมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ ที่เลือกตั้ง
- ห้ามจัดยานพาหนะ (ยกเว้นหน่วยงานรัฐ) ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปเลือกตั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร
- ห้ามทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุดอย่างจงใจ
- ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนเองได้ลงคะแนนแล้ว ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ
- ห้ามเล่นการพนันขันต่อใดๆ เกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง
- ห้ามเปิดเผย หรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง (โพลล์) ในระหว่างเวลา 7 วันก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง


การคัดค้านการเลือกตั้ง

ผู้ที่มีประสงค์จะคัดค้านการเลือกตั้ง ต้องยื่นคัดค้านต่อ กกต. ก่อนวันประกาศผลการเลือกตั้ง หรือ ภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง กรณีเห็นว่า การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง กรณีที่เห็นว่า ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเกินจำนวนที่ กกต. กำหนด หรือผู้สมัครไม่ยื่นบัญชีรายรับ-รายจ่าย ภายใน 90 วันหลังวันเลือกตั้ง

การแจ้งเหตุเมื่อพบการทุจริต 

เมื่อพบเห็นการทุจริตเลือกตั้ง ทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงิน สิ่งของ หรือมีการเรียกรับเงิน หรือทรัพย์สิน ให้ช่วยกันแจ้งเบาะแส หรือรวบรวมหลักฐานการทุจริตแจ้งต่อตำรวจในพื้นที่หรือรายงานให้ กกต. ทราบโดยด่วน

กฎหมายถ้าแบ่งตามข้อความกฎหมายแบ่งได้3 ประเภทคือ

         1. กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธระหว่างเอกชนกับเอกชนในฐานะเท่าเทียมกันเช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย ประมวลกฎหมายที่ดิน               
          2. กฎหมายมหาชน  คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธระหว่างรัฐ หรือ หน่วยงานของรัฐกับเอกชน อันได้แก ราษฎรทั่วไป ในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองที่มีอํานาจเหนือกว่าราษฎร กฎหมายมหาชน ได้แก กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครองกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยพิจารณาความอาญา               
         3. กฎหมายระหว่างประเทศ  คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือประชาชนในรัฐหนึ่งกับประชาชนอีกรัฐหนึ่ง โดยถือว่ารัฐนี้มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น3 แผนกคือ                             
                  1) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง                               
                  2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล                               
                  3) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
  

ฟังเพลงสบายๆๆนะคร่า

รายชื่อนายกรัฐมนตรีของไทย

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ   คนปัจจุบัน
นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์
นาย สมัคร สุนทรเวช
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นาย ชวน หลีกภัย
นาย ชวลิต ยงใจยุทธ
นาย บรรหาร ศิลปอาชา
นาย อนันท์ ปันยารชุน
พล.อ.สุจินดา คราประยูร
นาย ชาติชาย ชุณหะวัน
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
นาย เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร

ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช
ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช
นาย สัญญา ธรรมศักดิ์
นาย ถนอม กิตติขจร
นาย สฤษดิ์ ธนะรัชต์
นาย พจน์ สารสิน
นาย แปลก พิบูลสงคราม
นาย ควง อภัยวงศ์
นาย ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
นาย ปรีดี พนมยงค์
นาย ทวี บุญยเกตุ
พระยาพหุลพลพยุหเสนา
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา